วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2558

หมามุ่ยกับงานวิจัยแหล่งอ้างอิง ม.เกษตร

หมามุ่ยกับงานวิจัยแหล่งอ้างอิง ม.เกษตร
การวิจัยหมามุ่ยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เริ่มต้นในปี 2554 โดยหมามุ่ย ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ที่ทำการวิจัยเป็นสายพันธุ์จากต่างประเทศ เป็นสายพันธุ์อินเดีย” และจีนที่มีลักษณะพิเศษตรงที่ขนของฝักไม่ก่อให้เกิดอาการคัน เป็นสายพันธุ์ที่ทั่วโลกให้การยอมรับถึงความปลอดภัยและบริโภคกันทั่วโลก LD 50 มากกว่า 2000 mg/kg (LD 50 คือ ปริมาณสารที่เราให้กับสัตว์ทดลอง แล้วสัตว์ทดลองตายไปครึ่งหนึ่ง หรือ  50%) ส่วนลักษณะเมล็ดสองสีคือ สีขาวและสีดำ สรรพคุณเด่นของหมามุ่ยที่คนทั่วไปรู้จักคือ เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศและบำรุงร่างกาย



แต่งานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสน ปลูกหมามุ่ยสายพันธุ์จากต่างประเทศ Mucuna prureins(L) DC. Var Utilis ซึ่งเป็นสายพันธุ์หมามุ่ยชนิดขนไม่คันแต่มีฤทธิ์ทางยา มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน และทางตะวันออกของอินเดีย คนแถบบริเวณพื้นที่สูงของประเทศอินเดียรับประทานถั่วชนิดนี้มานานแล้ว โดยนำเมล็ดที่แก่มาต้มสุก หากกินเป็นเมล็ดดิบจะทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น ผิวหนังอักเสบ อาเจียน และท้องเสียได้ สำหรับคนทั่วไปสามารถใช้ประโยชน์เมล็ดหมามุ่ยนี้เพื่อเป็นอาหารและสมุนไพร จึงต้องระวังเรื่องความเป็นพิษโดยต้องเตรียมทำการต้มหรือคั่วให้สุก เพื่อทำลายสารพิษในเมล็ดหมามุ่ย

สรรพคุณหมามุ่ยทางแพทย์ปัจจุบัน
         
ในเมล็ดหมามุ่ยประกอบด้วยสารแอลโดปา (L – Dopa, Levodopaชื่อสารเคมีตาม IUPAC;(S)-2-Amino-3-(3,4-dihydroxyphenyl) propanoic acid เป็นสารเคมีที่พบได้ทั้งในมนุษย์ สัตว์ และพืช ในมนุษย์และสัตว์สามารสังเคราะห์ได้ในร่างกายจากกรดอะมิโนแอลไทโรซีน ( L-tyrosine) ซึ่งสารแอลโดปามีในเมล็ดหมามุ่ยปริมาณ3.0 – 6.0 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็น aromatic non-protein amino acid และเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารสื่อประสาทโดปามีน (dopamine), นอร์เอพิเนฟริน(norepinephrine) และเอพิเนฟรินepinephrine (adrenaline) ซึ่งเป็นสารเคมีมีที่เป็นทั้งฮอร์โมนและสารสื่อประสาทในกลุ่มแคททีโคลามีน(Catecholamines)ที่มีอิทธิพลต่อระบบการสืบพันธุ์ มีผลทำให้สมรรถภาพทางเพศเพิ่มขึ้น เป็นสารเคมีที่ผลิตขึ้นในร่างกายในสมอง โดพามีนทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท (neurotransmitter) คอยกระตุ้นโดพามีน รีเซพเตอร์ (dopamine receptor) โดพามีนทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนประสาท (neurohormone) ที่หลั่งมาจากไฮโปทาลามัส (hypothalamus) หน้าที่หลักของฮอร์โมนตัวนี้คือยับยั้งการหลั่งโปรแลคติน (Prolactin) จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (anterior pituitary)
นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์เมล็ดหมามุ่ยพบกรดอะมิโนที่จำเป็น และแร่ธาตุ รวมถึงคุณค่าทางโภชนะ พบเมล็ดหมามุ่ยประกอบด้วยกรดอะมิโนถึง 18 ชนิด และพบแร่ธาตุ ชนิด ดังแสดงตารางที่ 1-2 ได้แก่ แคลเซียม ทองแดง เหล็ก แมกนิเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม โซเดียม และสังกะสี และผลจากการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการพบว่าเมล็ดในหมามุ่ยมีโปรตีนร้อยละ 29.14 ไขมัน ร้อยละ 5.05 และไฟเบอร์ร้อยละ 8.68 


ตารางที่ แสดงปริมาณกรดอะมิโนในเมล็ดหมามุ่ย

กรดอะมิโน
ปริมาณที่พบ
อะลานีน (Alanine,Ala)
1104.07 mg/kg
อะจินีน (Arginine,Arg)
1651.16 mg/kg
กรดแอสปาร์ติก (Aspartic acid, Asp)
3223.26 mg/kg
ซีสเทอีน (Cystine,Cys)
205.48 mg/kg
กรดกลูตามิค (Glutamic acid, Glu)
3267.99 mg/kg
ไกลซีน (Clycine, Gly)
1029.30 mg/kg
ฮีสติดีน (Histidine, His)
706.38 mg/kg
ไอโซลูซีน (Isoleucine, lle)
906.67 mg/kg
ลูซีน (Leucine,Leu)
1781.17 mg/100g
ไลซีน (Lysine, Lys)
1396.48 mg/100g
เมตไทโอนีน (Methionine, Met)
132.9 mg/100g
ฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine, Phe)
1019.53 mg/100g
โปรลีน (Proline, Pro)
1398.37 mg/100g
เชอรีน (Serline, Ser)
1192.31 mg/100g
ทรีโอนีน (Theonline, Thr)
1152.27 mg/100g
ทริปโตแฟน (Trytophan, Trp)
347.00 mg/100g
ไทโรซีน (Tyrosine, Try)
1042.48 mg/100g
วารีน (Valine, Val)
1013.06 mg/100g




ตารางที่ แสดงปริมาณแร่ธาตุที่พบในเมล็ดหมามุ่ย

แร่ธาตุ
ปริมาณที่พบ (mg/kg)
แคมเซียม
1727.373
ทองแดง
18.28
เหล็ก
113.886
แมงกานีส
1244.356
โพแทสเซียม
4483.267
ฟอสฟอรัส
12532.468
โซเดียม
149.051
สังกะสี
32.767

       ปัจจุบันแอลโดปาถูกสกัดเป็นยาเม็ดไปทำยาเพื่อรักษาโรคพาร์กินสัน คนไทยเรียก สั่น สันนิบาต หรือ สันนิบาตลูกนก เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ เป็นโรคที่ถูกค้นพบครั้งแรกโดยนายแพทย์เจมส์ พาร์กินสัน ชาวอังกฤษในปี พ.ศ. 2360  โดย เป็นผู้รายงานโรคพาร์กินสัน เป็นคนแรก อธิบายว่าถ้าหากร่างกายมีสารโดปามีน้อยเกินไป จะทำให้เกิดเป็นโรคพาร์กินสันโรคพาร์กินสัน เนื่องจากการเสียสมดุลของสารโดปามีนในสมอง เซลล์สมองส่วนที่สร้างโดปามีนตายไปมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ โดปามีนเป็นสารเคมีในสมอง ทำหน้าที่ควบคุมระบบการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อสมองขาดโดปามีน จึงเกิดอาการเคลื่อนไหวผิดปกติขึ้น แอลโดปาเป็นสารตั้งต้นสำหรับการสังเคราะห์โดพามีน (Dopamine ไม่สามารถผ่านเข้าสมองได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น