วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558

หมามุ่ยอินเดีย “ถั่วเวลเวท”

หมามุ่ยอินเดีย
“ถั่วเวลเวท” พืชเศรษฐกิจตัวใหม่.. สุดยอดสมุนไพร เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ 














หมามุ่ยอินเดีย
หมามุ่ยในเมืองไทย

หมามุ่ย หรือ ถั่วเวลเวท (Velvet bean) คนทั่วโลกรู้จัก ถั่วเวลเวท แต่คนไทยหลายคนอาจจะไม่รู้จักแต่ถ้าบอกว่า หมามุ่ย” จะรู้จักเป็นอย่างดี เพราะ ในสมัยเด็กหลายคนคงมีโอกาสได้ใช้ฝักของหมามุ่ยในการแกล้งเพื่อนบ้าง ถ้าเป็นผู้ใหญ่ก็คงไม่มีใครอยากเข้าใกล้ เพราะหากสัมผัสฝักของหมามุ่ยทำให้เกิดอาการแพ้ระคายเคือง เกิดอาการคัน หรือถึงขั้นปวดแสบปวดร้อน มีอาการบวมแดง  ในทั่วโลกมีหมามุ่ยมากกว่า 100 สายพันธุ์ ในไทยมีเพียงประมาณ 13 พันธุ์  หมามุ่ยที่พบในประเทศไทยมีลักษณะใบรูปร่างคล้ายรูปไข่หรือรูปไข่ปนขนมเปียกปูน หมามุ่ยจัดเป็นพืชตระกูลถั่ว ลักษณะทั่วไปของหมามุ่ย เป็นไม้เลื้อยล้มลุก เป็นพืชเถาซึ่งมีขนที่ฝัก ที่มีทั้งชนิดที่คันและไม่คัน แต่ในไทยเป็นสายพันธุ์ส่วนใหญ่มีขนพิษที่ฝัก ลำต้นเล็กเหนียวคล้ายเชือก ดอกออกเป็นช่อห้อยลง สีม่วงแก่ถึงม่วงออกดำ  โคนใบอาจมีทั้งมน กลม หรือหน้าตัดก็ได้ ตัวใบบางและมีขนทั้งสองด้าน ดอกสีม่วงดำ ออกเป็นช่อตามง่ามใบ มีเมล็ด 4-7 เมล็ด ฝักจะมีขนอ่อนคลุม ฝักแก่กลายเป็นพืชที่มีพิษ ซึ่งมีขนคันและไม่คันจากฝัก เมื่อขนพิษสัมผัสกับผิวหนังทำให้เกิดอาการคัน เนื่องจากขนประกอบด้วยเอนไซม์มูคูแนน (mucunain enzyme) ที่สามารถย่อยโปรตีนได้ เซโรโทนิน (serotonin) และมีสารคล้ายฮิสตามีน (histamine) ทำให้เกิดพิษ เมื่อสัมผัสขนของฝักหมามุ่ยจึงก่อให้เกิดอาการระคายเคืองมาก คัน ปวดแสบปวดร้อนหรือบวมแดง 
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหมามุ่ย
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mucuna Prureins(L) DC. Var Utilis หรือเรียกว่า ถั่วเวลเวท (Velvet bean)ชื่อวงศ์ FABA CEAE ชื่ออื่นๆ ในภาษาถิ่น คือ กลออื้อแช  โพล่ยู มะเหยือง และหมาเหยืองสำหรับในประเทศไทยสายพันธุ์หมามุ่ยที่พบกลุ่ม คือ
            1.หมามุ่ยชนิดขนไม่คัน จะเป็นกลุ่มไม้ป่า Mucuna pruriens (L.) DC. Cultivar group Pruriens ซึ่งขนประกอบด้วยสารพิษปกคลุมที่ผฝัก ทำให้เกิดอาการคันเมื่อสัมผัส มีทั้งสายพันธุ์ทั้งเม็ดเล็กแม็ดใหญ่ และเมล็ดมีหลายสี อาทิเช่น สีขาว สีดำ สีชมพู และสีครีมซึ่งมีฤทธิ์ทางยาเช่นเดียวกับหมามุ่ยสายพันธุ์ต่างประเทศ แต่ไม่เหมาะปลูกเชิงการค้าเนื่องจากเป็นพืชที่มีขนเป็นพิษ
            2.หมามุ่ยชนิดขนไม่คัน ส่วนกลุ่มที่เป็นไม้ปลูก Mucuna pruriens (L.) DC. Cultivar group Utillis จะไม่มีขนพิษที่ฝัก ไม่มีการปลูกในประเทศไทย เท่าที่พบมีสายพันธุ์เมล็ดใหญ่ชนิดเดียว ไม่ได้ขึ้นเองตามธรรมชาติ ลักษณะของขนจะสั้นเหมือนถั่วแระญี่ปุ่นและขนจะ ไม่มีพิษ ลักษณะของใบจะใหญ่กว่าของหมามุ่ยชนิดขนคัน และดอกจะมีช่อที่ใหญ่และยาวกว่า ช่อดอกสีขาว หมามุ่ยไม่คันนั้น มีชื่อเรียกต่างกันตามภูมิภาค เช่นเรียกว่า ถั่วยักษ์, ถั่วครก, ถั่วพร้า, ถั่วอีใต้ และถั่วขอ เป็นต้น หมามุ่ยชนิดขนไม่คันนี้พบได้ตามภาคใต้ของประเทศไทยแต่ในปัจจุบันพบกระจายตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย เมล็ดจะใหญ่กว่าเมล็ด หมามุ่ยชนิดขนคันมาก สามารถแยกแยะด้วยตาเปล่าได้ สรรพคุณของหมามุ่ยชนิดขนไม่คันที่พบในไทย ไม่มีสรรพคุณทางยา แต่ชาวบ้านมักจะปลูกกันกินเป็นอาหาร โดยเด็ดยอดดอกอ่อนมาจิ้มน้ำพริกนำเมล็ดมาต้ม กินเหมือนต้มถั่วแระ และรสชาติจะออกมันเหมือนถั่วแระ
หมามุ่ยกับงานวิจัยแหล่งอ้างอิง ม.เกษตร
การวิจัยหมามุ่ยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เริ่มต้นในปี 2554 โดยหมามุ่ย ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ที่ทำการวิจัยเป็นสายพันธุ์จากต่างประเทศ เป็นสายพันธุ์อินเดีย” และจีนที่มีลักษณะพิเศษตรงที่ขนของฝักไม่ก่อให้เกิดอาการคัน เป็นสายพันธุ์ที่ทั่วโลกให้การยอมรับถึงความปลอดภัยและบริโภคกันทั่วโลก LD 50 มากกว่า 2000 mg/kg (LD 50 คือ ปริมาณสารที่เราให้กับสัตว์ทดลอง แล้วสัตว์ทดลองตายไปครึ่งหนึ่ง หรือ  50%) ส่วนลักษณะเมล็ดสองสีคือ สีขาวและสีดำ สรรพคุณเด่นของหมามุ่ยที่คนทั่วไปรู้จักคือ เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศและบำรุงร่างกาย



แต่งานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสน ปลูกหมามุ่ยสายพันธุ์จากต่างประเทศ Mucuna prureins(L) DC. Var Utilis ซึ่งเป็นสายพันธุ์หมามุ่ยชนิดขนไม่คันแต่มีฤทธิ์ทางยา มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน และทางตะวันออกของอินเดีย คนแถบบริเวณพื้นที่สูงของประเทศอินเดียรับประทานถั่วชนิดนี้มานานแล้ว โดยนำเมล็ดที่แก่มาต้มสุก หากกินเป็นเมล็ดดิบจะทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น ผิวหนังอักเสบ อาเจียน และท้องเสียได้ สำหรับคนทั่วไปสามารถใช้ประโยชน์เมล็ดหมามุ่ยนี้เพื่อเป็นอาหารและสมุนไพร จึงต้องระวังเรื่องความเป็นพิษโดยต้องเตรียมทำการต้มหรือคั่วให้สุก เพื่อทำลายสารพิษในเมล็ดหมามุ่ย

สรรพคุณหมามุ่ยทางแพทย์ปัจจุบัน
         
ในเมล็ดหมามุ่ยประกอบด้วยสารแอลโดปา (L – Dopa, Levodopaชื่อสารเคมีตาม IUPAC;(S)-2-Amino-3-(3,4-dihydroxyphenyl) propanoic acid เป็นสารเคมีที่พบได้ทั้งในมนุษย์ สัตว์ และพืช ในมนุษย์และสัตว์สามารสังเคราะห์ได้ในร่างกายจากกรดอะมิโนแอลไทโรซีน ( L-tyrosine) ซึ่งสารแอลโดปามีในเมล็ดหมามุ่ยปริมาณ3.0 – 6.0 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็น aromatic non-protein amino acid และเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารสื่อประสาทโดปามีน (dopamine), นอร์เอพิเนฟริน(norepinephrine) และเอพิเนฟรินepinephrine (adrenaline) ซึ่งเป็นสารเคมีมีที่เป็นทั้งฮอร์โมนและสารสื่อประสาทในกลุ่มแคททีโคลามีน(Catecholamines)ที่มีอิทธิพลต่อระบบการสืบพันธุ์ มีผลทำให้สมรรถภาพทางเพศเพิ่มขึ้น เป็นสารเคมีที่ผลิตขึ้นในร่างกายในสมอง โดพามีนทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท (neurotransmitter) คอยกระตุ้นโดพามีน รีเซพเตอร์ (dopamine receptor) โดพามีนทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนประสาท (neurohormone) ที่หลั่งมาจากไฮโปทาลามัส (hypothalamus) หน้าที่หลักของฮอร์โมนตัวนี้คือยับยั้งการหลั่งโปรแลคติน (Prolactin) จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (anterior pituitary)
นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์เมล็ดหมามุ่ยพบกรดอะมิโนที่จำเป็น และแร่ธาตุ รวมถึงคุณค่าทางโภชนะ พบเมล็ดหมามุ่ยประกอบด้วยกรดอะมิโนถึง 18 ชนิด และพบแร่ธาตุ ชนิด ดังแสดงตารางที่ 1-2 ได้แก่ แคลเซียม ทองแดง เหล็ก แมกนิเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม โซเดียม และสังกะสี และผลจากการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการพบว่าเมล็ดในหมามุ่ยมีโปรตีนร้อยละ 29.14 ไขมัน ร้อยละ 5.05 และไฟเบอร์ร้อยละ 8.68 


ตารางที่ แสดงปริมาณกรดอะมิโนในเมล็ดหมามุ่ย

กรดอะมิโน
ปริมาณที่พบ
อะลานีน (Alanine,Ala)
1104.07 mg/kg
อะจินีน (Arginine,Arg)
1651.16 mg/kg
กรดแอสปาร์ติก (Aspartic acid, Asp)
3223.26 mg/kg
ซีสเทอีน (Cystine,Cys)
205.48 mg/kg
กรดกลูตามิค (Glutamic acid, Glu)
3267.99 mg/kg
ไกลซีน (Clycine, Gly)
1029.30 mg/kg
ฮีสติดีน (Histidine, His)
706.38 mg/kg
ไอโซลูซีน (Isoleucine, lle)
906.67 mg/kg
ลูซีน (Leucine,Leu)
1781.17 mg/100g
ไลซีน (Lysine, Lys)
1396.48 mg/100g
เมตไทโอนีน (Methionine, Met)
132.9 mg/100g
ฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine, Phe)
1019.53 mg/100g
โปรลีน (Proline, Pro)
1398.37 mg/100g
เชอรีน (Serline, Ser)
1192.31 mg/100g
ทรีโอนีน (Theonline, Thr)
1152.27 mg/100g
ทริปโตแฟน (Trytophan, Trp)
347.00 mg/100g
ไทโรซีน (Tyrosine, Try)
1042.48 mg/100g
วารีน (Valine, Val)
1013.06 mg/100g




ตารางที่ แสดงปริมาณแร่ธาตุที่พบในเมล็ดหมามุ่ย

แร่ธาตุ
ปริมาณที่พบ (mg/kg)
แคมเซียม
1727.373
ทองแดง
18.28
เหล็ก
113.886
แมงกานีส
1244.356
โพแทสเซียม
4483.267
ฟอสฟอรัส
12532.468
โซเดียม
149.051
สังกะสี
32.767

       ปัจจุบันแอลโดปาถูกสกัดเป็นยาเม็ดไปทำยาเพื่อรักษาโรคพาร์กินสัน คนไทยเรียก สั่น สันนิบาต หรือ สันนิบาตลูกนก เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ เป็นโรคที่ถูกค้นพบครั้งแรกโดยนายแพทย์เจมส์ พาร์กินสัน ชาวอังกฤษในปี พ.ศ. 2360  โดย เป็นผู้รายงานโรคพาร์กินสัน เป็นคนแรก อธิบายว่าถ้าหากร่างกายมีสารโดปามีน้อยเกินไป จะทำให้เกิดเป็นโรคพาร์กินสันโรคพาร์กินสัน เนื่องจากการเสียสมดุลของสารโดปามีนในสมอง เซลล์สมองส่วนที่สร้างโดปามีนตายไปมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ โดปามีนเป็นสารเคมีในสมอง ทำหน้าที่ควบคุมระบบการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อสมองขาดโดปามีน จึงเกิดอาการเคลื่อนไหวผิดปกติขึ้น แอลโดปาเป็นสารตั้งต้นสำหรับการสังเคราะห์โดพามีน (Dopamine ไม่สามารถผ่านเข้าสมองได้
หมามุ่ยกับงานวิจัยต่างประเทศ
ช่วยให้การนอนหลับดีขึ้นกระตุ้นการสลายไขมันส่วนเกินที่ร่างกายไม่ต้องการลดริ้วรอยเหี่ยวย่นช่วยร่างกายกระตุ้นการสร้างกล้ามเนื้อมากขึ้น ทำให้อารมณ์ดี คลายเครียดร่างกายมีพละกำลังมากขึ้นกว่าเดิมควบคุมคอเลสเตอรอลและควบคุมระบบการทำงานของระบบหัวใจปอดตับและไตให้เป็นปกติ สร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูกลดปัญหาโรคกระดูกพรุน
คุณประโยชน์ในเมล็ดหมามุ่ย
1. ใช้เป็นผลิตภัณฑ์บำรุงกำลังเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ไม่เหนื่อยง่าย
2. ช่วยทำร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า เพิ่มความกระฉับกระเฉง
3. ช่วยทำให้นอนหลับสบาย
4. ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศให้ดีมากยิ่งขึ้น
5. ช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำอสุจิ และปรับคุณภาพน้ำเชื้อให้ดีขึ้น
6. ช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิ (เพิ่มโอกาสการมีลูก)
7. ช่วยทำให้คู่รักมีความสุขและช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่าง กันให้ดีมากยิ่งขึ้น
8. ช่วยกระตุ้นความต้องการทางเพศ เพิ่มความถี่ให้มากยิ่งขึ้นเป็น 10 เท่า (มีการทดลองในสัตว์)
9. ช่วยแก้ปัญหาอวัยวะเพศแข็งตัวช้า
10. ช่วยยืดระยะเวลาในการมีเพศสัมพันธ์ แก้ปัญหาการหลั่งเร็วได้
11. ช่วยเพิ่มปริมาณของฮอร์โมนเพศ
12. ช่วยทำให้หน้าอกเต่งตึงมากยิ่งขึ้น
13. ช่วยทำให้ผิวพรรณดูมีน้ำมีนวลมากยิ่งขึ้น
14. มีส่วนช่วยให้ช่องคลอดกระชับมากยิ่งขึ้น
15. ช่วยรักษาภาวะการมีบุตรยากทั้งชายและหญิง
16. ช่วยโรคพาร์กินสัน(อาการสั่น เพราะในหมามุ่ยมีสารแอลโดปาเป็นสารที่ใช้รักษา
โรคพาร์กินสัน)
17. ช่วยผ่อนคลายความเครียด
18. ช่วยเพิ่มการเผาผลาญและมวลของกล้ามเนื้อ
19. ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
20. ช่วยลดอาการไอ ร้อนใน
21. ใช้แก้อาการคัน
22. เป็นยาฝาดสมาน (เมล็ด)
23. ใช้ถอนพิษ ล้างพิษ
24. ช่วยแก้พิษแมงป่องกัดได้ ด้วยการใช้เมล็ดตำเป็นผงแล้วนำมาพอกบริเวณที่โดนต่อย

ปริมาณที่แนะนำให้รับประทาน

1.ผู้เป็นโรคพาร์กินสันกินไปเกินวันละ กรัม ต่อวัน ติดต่อ 15 วันควรรับประทานภายใต้การดูแลของแพทย์
2.ผู้ที่ต้องการกินบำรุงร่างกายสำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้มีปัญหาเรื่องการมีบุตรยากแนะนำให้กินวันละ 3  เมล็ด ต่อวันทำให้ร่างการสดชื่นสามารถแบ่งการรับประทานได้ตามตามสัดส่วนของร่ายกาย เช่น เวลา ครั้งละเม็ด ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้    เช้า เม็ด เย็น เม็ด วันละ1-2 เม็ด
3.สำหรับผู้ป่วย โรคหัวใจหรือความดัน ไม่ควรรับประทาน แต่ถ้าจะรับประทานเพื่อเสริมสร้างเรื่องอื่นควร กินภายใต้การดูแลของแพทย์หรือมียาควบคุม ไม่ควรกินเกินวันละเม็ด หรือตามสัดส่วนร่างกาย
4.แต่ผู้ที่ร่างกายมีปัญหาหรืออาการต่างๆ ให้กินไม่เกินวันละ กรัม

ข้อควารระวัง
  1.             เด็ก สตรี สตรีมีครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยอาการทางจิตและระบบประสาทไม่ควรรับประทาน
  2.             ผู้ที่มีภาวะฮอร์โมนเพศชายและเพศหญิงสูงควรงดรับประทาน
  3.             ในการทานเมล็ดหมามุ่ยไม่ควรกินเมล็ดหมามุ่ยแบบดิบ หรือการกินเมล็ดที่ไม่ได้คั่ว ไม่ได้นึ่ง หรือไม่สุก อาจทำให้เกิดพิษได้
  4.             การกินเมล็ดหมามุ่ยมากเกินไป ทำให้เกิดอาการประสาทหลอนเนื่องจากหมามุ่ยมีสารแอลโดปาที่จะทำให้สารสื่อประสาทเกิดความไม่สมดุลได้ คลื่นใส้ อาเจียน

******************************************************************************************************************************************
               สั่งซื้อและเป็นสมาชิกที่  ครูชอร์ววรรธน์         
                โทร. 089-496-8695 , 089-2788514
                    ID Line  : pensionfunds


คุณมีสินค้าเอามาฝากขาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น